
แมวน้ำรับรู้ระดับออกซิเจนในเลือดได้ !
กลไกมหัศจรรย์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ทั้งแมวน้ำ สิงโตทะเล แมวน้ำขนปุย และวอลรัส ต่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่วิวัฒนาการตัวเองกลับสู่ท้องทะเลในฐานะนักล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดย่อม แมวน้ำบางตัวก็ดูน่าเอ็นดู และบางตัวก็ดูน่าสะพรึงกลัวจนเราช็อคคาใต้น้ำได้ แต่ถึงกระนั้นแมวน้ำก็เป็นสัตว์ที่น่าทึ่งไม่แพ้สัตว์บนบกเลย โดยเฉพาะเรื่องที่พวกมันรู้ระดับออกซิเจนในเลือดได้ ! • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายใจด้วยปอดทั้งสิ้นทุกชนิด แต่สัตว์บกไม่ว่าจะมนุษย์ ช้าง ลิง สล็อธและสัตว์ส่วนมากไม่สามารถรู้ระดับภาวะออกซิเจนในเลือด ทำให้เวลาที่หายใจเข้าออกจะปล่อยอากาศออกนอกร่างกาย แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำอย่างพวกวาฬและแมวน้ำไม่สามารถหายใจเข้าออกขณะอยู่ใต้น้ำ พวกมันจึงมีกลไกพิเศษที่อยู่ใต้น้ำนานๆหรือระยะสั้นได้ • มีการทดสอบความสามารถในการดำน้ำของแมวน้ำสีเทา (Gray seal - 𝘏𝘢𝘭𝘪𝘤𝘩𝘰𝘦𝘳𝘶𝘴 𝘨𝘳𝘺𝘱𝘶𝘴) ที่สถาบันวิจัยแห่งหนึ่ง โดยพวกเขาทดสอบให้แมวน้ำแต่ละตัวว่ายน้ำไปกลับรอบสระ 60 เมตร โดยที่ปลายทางก่อนว่ายกลับจะมีจุดให้อาหารแบบมีช่องหายใจที่มีแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้นสะสมบริเวณช่อง โดยพวกเขาลองกับภาวะแก๊ส 3 ระดับคือ ระดับแก๊สปกติจากสภาพแวดล้อม, ระดับแก๊สออกซิเจน 2 เท่า และระดับแก๊สออกซิเจนผสมคาร์บอนไดออกไซด์ 200 เท่า ! • พวกเขาพบว่า ระดับออกซิเจนในเลือดของแมวน้ำมีภาวะต่างกัน กรณีที่ได้รับแก๊สออกซิเจนปริมาณมากจากการหายใจ แมวน้ำสามารถอยู่ใต้น้ำได้ยาวนานกว่า ขณะที่ภาวะที่แก๊สออกซิเจนน้อย แมวน้ำจะดำอยู่ใต้น้ำสั้นกว่าได้รับออกซิเจนเยอะ นั้นแปลว่าแมวน้ำนั้นสามารถรับรู้ระดับออกซิเจนในระดับเลือดได้จากการหายใจและดำน้ำได้แต่ละครั้ง เวลาที่ออกซิเจนน้อยเท่ากับขึ้นหายใจบ่อยครั้งกว่าที่หายใจเต็มปอด • บางครั้งธรรมชาติก็สร้างหลายสิ่งให้มีความแปลก แต่ความแปลกนั้นอยู่คู่กับการคัดสรรทางธรรมชาติที่มีผลต่อเผ่าพันธุ์ของสัตว์นั้นๆอีกด้วยนั่นเอง PIC CR. Amos NachoumReferenceJ. Chris McKnight et al, Cognitive perception of circulating oxygen in seals is the reason they don't drown, Science (2025).https://www.science.org/doi/10.1126/science.adw1936
เขียนโดย BKwildlifemaster - สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลานปี 2006
โพสต์เมื่อ 26 มี.ค. 25
อ่าน 0 ครั้ง