

จิงโจ้หนูมัสกี้ จิงโจ้ที่ตัวเล็กที่สุดในโลกและต้นกำเนิดการกระโดดของจิงโจ้
ขอเชิญทุกคนพบกับมาโครพอด (Macropod) มาร์ซูเปียลหรือสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องผู้เป็นต้นกำเนิดการกระโดดแรกเริ่มของจิงโจ้กัน นั้นก็คือ "จิงโจ้หนูมัสกี้" (Musky rat-kangaroo - 𝘏𝘺𝘱𝘴𝘪𝘱𝘳𝘺𝘮𝘯𝘰𝘥𝘰𝘯 𝘮𝘰𝘴𝘤𝘩𝘢𝘵𝘶𝘴) สัตว์พื้นเมืองออสเตรเลียที่พบได้เฉพาะในป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป จิงโจ้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เจ้าสัตว์ตัวเล็กตัวนี้เป็นต้นแบบการกระโดดสองขาหลังของจิงโจ้และวัลลาบี้ที่ตัวใหญ่ได้อย่างไร ? • ตระกูลของหนูจิงโจ้นั้นเป็นตระกูลเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโอลิโกซีน นามว่า Hypsiprymnodontidae ซึ่งวงศ์นี้เคยมีมาร์ซูเปียลนักล่าหรือจิงโจ้กินเนื้อเป็นสมาชิกวงศ์หลัง แต่พวกนั้นก็สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว จนเหลือแค่จิงโจ้หนูมัสกี้เพียงชนิดเดียวบนโลกนี้มาตั้งแต่ 20 ล้านปีแล้ว ซึ่งเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอย่างหนึ่งก็ว่าได้เลยครับ• ชื่อมัสกี้ก็มาจากกลิ่นตัวเป็นเอกลักษณ์ที่ปล่อยออกมาหึ่งเหมือนกับกวางชะมด กลิ่นนี้มีไว้เพื่อสื่อสารกันในช่วงฤดูหาคู่และยังบอกสถานะของแต่ละตัว อีกทั้งยังใช้ป้องกันตัวเวลาถูกคุกคามจากนักล่าตัวใหญ่กว่า ที่น่าสนใจกว่าชื่อก็คือ มันเป็นมาร์ซูเปียลผู้เป็นต้นแบบการเคลื่อนไหวของจิงโจ้แรกเริ่ม• ปกติแล้วพวกตระกูลมาโครพอดทั้งหมดจะกระโดดด้วยสองขาหลังได้ แม้แต่จิงโจ้กินเนื้อญาติของจิงโจ้หนูมัสกี้ก็โดดสองขาหลังได้ แต่จิงโจ้หนูมัสกี้เคลื่อนไหวสี่ขา ไม่มีท่ากระโดดสองขาหลัง โดยขยับขาหน้าไปข้างหน้าพร้อมกัน แล้วตามด้วยขาหลังสองข้างขยับไปข้างหน้าด้วยกัน ซึ่งเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวดั้งเดิมของพวกจิงโจ้ในท่าปกติก่อนจะวิวัฒนาการด้านการกระโดดสองขา • เจ้าสัตว์ตัวเล็กพวกนี้ไม่จำเป็นต้องกระโดดไกลมากเมื่ออยู่ในป่า พวกมันตัวเล็กและหากินอาหารจำพวกผลไม้และเห็ดตามพื้นดินอย่างสงบ ถือเป็นรอยต่อสำคัญของวิวัฒนาการการปรับตัวของสัตว์ในทวีปออสเตรเลียที่สำคัญ ว่าแม้ทุกอย่างในโลกเปลี่ยนไป แต่ที่นี่บางอย่างยังคงสภาพเหมือนเดิม PIC CR. Ray wilson Reference'Musky' marsupial could solve hopping kangaroo mysteryhttps://phys.org/.../2025-03-musky-marsupial-kangaroo...Musky Rat-Kangaroo - Facts, Diet, Habitat & Pictures on Animalia.biohttps://animalia.bio/index.php/musky-rat-kangarooMeet the musky rat-kangaroo, our smallest kangaroohttps://www.australiangeographic.com.au/.../meet-the.../
เขียนโดย BKwildlifemaster - สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลานปี 2006
โพสต์เมื่อ 26 มี.ค. 25
อ่าน 0 ครั้ง

"หนูขนยาว ผู้ทำให้เกิดประกายแสงแห่งการคืนชีพแมมมอธขนปุย"
เชิญพบกับ "หนูขนปุย" หรือหนูขนยาว (Woolly mouse) เป็นสายพันธุ์หนูที่พัฒนายีนขนให้มีความยาวเหมือนกับขนของช้างแมมมอธขนปุย ซึ่งหนูสายพันธุ์นี้คิดค้นและเพาะขยายพันธุ์ครั้งแรกโดยบริษัทชีวพันธุวิศวกรรมยักษ์ใหญ่ นาม "Colossal Biosciences" ผู้มีเป้าหมายในการคืนชีพช้างแมมมอธขนปุยและสัตว์สูญพันธุ์อื่นๆ (ย้ำว่าไม่เกี่ยวกับไดโนเสาร์แบบที่เราเห็นกันในหนังและสื่อ) ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางบริษัท Colossal Biosciences มีแผนในการคืนชีพช้างแมมมอธโดยได้ทำการศึกษาจากลำดับจีโนมจากฟอสซิลขนแช่แข็งและเนื้อเยื่อแช่แข็งจากช้างแมมมอธขนปุยที่พวกเขาเจอกันหลายตัวอย่าง แล้วนำตัวอย่างจีโนมมาเทียบกับช้างเอเชียที่เป็นญาติสนิท เพื่อหาจุดต่างกันอย่างเช่นยีนที่ทำให้เกิดขนยาวบนลำตัว หลังจากนั้นก็มาพัฒนาจีโนมของช้างเอเชียให้คล้ายคลึงกับช้างแมมมอธขนปุย พอเจอยีนที่ต้องสงสัยแล้วก็ลองเอาตัวต้นแบบไปใส่ในหนู จนพัฒนาได้หนูขนยาวออกมาอย่างที่เห็นนั่นเอง ซึ่งข้อดีของการขนยาวนั่นทำให้ร่างกายอบอุ่นในสภาพแวดล้อมอากาศหนาวเย็นและอากาศอุ่นได้ดี ถือว่าเป็นก้าวหนึ่งในการศึกษาตัวอย่างและการพยายามคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์ โดยริเริ่มจากก้าวเล็กๆที่มีสัตว์เล็กนำร่องการวิจัย PIC CR. Colossal BiosciencesReferenceMeet the ‘woolly mouse’: why scientists doubt it’s a big step towards recreating mammothshttps://www.nature.com/articles/d41586-025-00684-1...
เขียนโดย BKwildlifemaster - สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลานปี 2006
โพสต์เมื่อ 07 มี.ค. 25
อ่าน 3 ครั้ง





